ใครร่วมอยู่ในโครงการนี้บ้าง

ใครร่วมอยู่ในโครงการนี้บ้าง

เยาวชนในโครงการ

เยาวชนในโครงการ One Community ประกอบไปด้วยเยาวชนสัญชาติกะเหรี่ยงอายุ 18-35 ปีจาก 6 หมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก โดยเยาวชนทั้งหมดอาศัยและทำกินอยู่ในชุมชนตนเอง โดยไม่ได้ออกไปทำอาชีพอื่นนอกพื้นที่ บ้างมีครอบครัวแล้วและเป็นกำลังหลักของครอบครัวตนเอง และบ้างเป็นกำลังสำคัญของชุมชน เช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น แต่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากจะเห็นการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าอย่างยั่งยืน และเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษามรดกโลกผืนนี้ร่วมกับเจ้าหน้าที่เขตฯ

รายชื่อเยาวชนในโครงการ One Community


หมู่บ้านสะเน่พ่อง หมู่ 1

ครูชาติ

นายเพื่อชาย เสตะพันธ์

สมพร

นายสมพร เมาศรี

ครูชา

นายชาญชัย สังขธิติ

ต๋อง

นายเจริญพงษ์ กันทรพิมาน


หมู่บ้านกองม่องทะ หมู่ 2

ลุย

นายสุชาติ ไทรสังขชวาลลิน

หวัง

นายสมหวัง สังขรงรอง

ใหญ่

นายวินัย พนาอุดม


หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง หมู่ 3

วัช

นายธวัชชัย ไทรสังขทัศนีย์

โจอี้

นายพิบูลย์ ไทรสังขทัศนีย์

บอล

นายสมใจ ไทรสังขทัศนีย์

จิม

นายกฤษดา ไทรสังขทัศนีย์


หมู่บ้านสาละวะ-ไล่โว่ หมู่ 4

เออนึ่ง

นายเออนึ่ง เอกธวัช 

ชล

นายเชาวลิต วิฑูรย์

หนึ่ง

นายธีรภัทร ก้องขจรคีรี

นุ

นายสนาย พิทักษ์ชาตคีรี

อ๋อง

นายสิทธิชัย สังขสุวรรณ

อาทิตย์

นายอาทิตย์ เทียนขจรศรี


หมู่บ้านทิไล่ป้า หมู่ 5

บัติ

นายสมบัติ เกษตรร่ำรวย

ภัทร

นายชัยภัทร์ จอมวารี

ไนท์

นายชิงชัย กาญจนเจริญชัย

เอ่งพุเส็ง

นายเอ่งพุเส่ง ชอบเดินดง

ติ๊ก

นายสมเกียรติ วงศ์งามชัย

เอ

นายโสภณ จงรักชาติไทย

ไผ่

นายบุญชัย ทวีจินดากาญจน์

มะลุลี

นางสาวมะลุลี เกษตรรุ่งทรัพย์

ชฎาพร

นางสาวชฎาพร กาญจนเจริญชัย

วิน

นายจตุพร เกษตรร่ำรวย


หมู่บ้านจะแก หมู่ 6

เลิฟ

นายทองเล๊อโพ่ กาญจนแกร่งกล้า

เพล

นายณัฐวุฒิ กนกวานิช

เสก

นายเสกสรรค์ ไทรสังขกมล

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ตั้งอยู่ใจกลางกลุ่มป่าตะวันตก (Western Forest Complex) ซึ่งมีพื้นที่ป่าคุ้มครอง 17 แห่งต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกันมีเนื้อที่รวม 11.7 ล้านไร่ ผืนป่าแห่งนี้ได้รับการยกย่องว่าด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่พิเศษและเหมาะสม ทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศที่หลากหลาย เหมาะกับการเจริญเติบโตของพรรณพืชและการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิดในปริมาณที่มากกว่าที่พบในพื้นที่ป่าทั่วไปอื่นๆของทั้งประเทศ 

แผนที่กลุ่มป่าตะวันตก

มรดกโลกทางธรรมชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

ประกอบด้วยพื้นที่อนุรักษ์ ๓ แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก และด้านตะวันออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง รวมเป็นเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยและของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่รวม ๔,๐๑๗,๐๘๗ ไร่ หรือประมาณ  ๖,๔๒๗ ตารางกิโลเมตร โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่เป็นแกนกลางของกลุ่มป่าตะวันตกซึ่งเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารของแม่น้ำสายหลักของประเทศหลายสาย เช่น แม่กลอง สาละวิน สะแกกรัง ท่าจีน และบางส่วนของเจ้าพระยา และเป็นผืนป่าธรรมชาติที่รวบรวมไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ มีความงดงามตามธรรมชาติและมีความสมบูรณ์ของระบบชีววิทยา นับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์  ๓ ประการ คือ 

1) มีความโดดเด่นในด้านวิวัฒนาการทางชีวภาพ ชีวาลัย เป็นพิเศษของโลก 

เพราะประกอบด้วยระบบนิเวศ ๔ ภูมิภาค คือ ภูมิภาคซุนเดอิก (Sundaic) ภูมิภาคอินโด-เบอร์มิส (Indo-Burmese) ภูมิภาคอินโด-ไชนิส (Indo-Chinese) และภูมิภาคไซโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) 

2) เป็นแหล่งธรรมชาติพิเศษ ที่เป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสายของประเทศ 

มีป่าไม้หลากหลายประเภท ประกอบด้วย เทือกเขา เนินเขา ตลอดจนทุ่งหญ้า ลักษณะทั้งหมดจึงมีคุณค่าในด้านวิทยาศาสตร์ มีความงดงามทางธรรมชาติที่หาได้ยากแห่งหนึ่งของโลก 

3) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่หายาก 

หรืออยู่ในภาวะที่อันตรายแต่ยังสามารถดำรงพันธุ์อยู่ได้ ซึ่งรวมถึงเป็นระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหลากหลายของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ

แผนที่ มรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

คุณค่าและความสำคัญของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2517 มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 2 ล้านไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ต่อมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2534 ได้ผนวกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำโจน ท้องที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 279,500 ไร่ เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และด้วยพื้นที่ที่มีความกว้างใหญ่ ในปีเดียวกันนี้จึงได้แยกการบริหารงานเป็น 2 พื้นที่ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก อยู่ในพื้นที่จังหวัดตาก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี คงเหลือเนื้อที่ 1,331,062 ไร่ 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ได้รับการยกย่องว่าด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่พิเศษและเหมาะสม ทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศที่หลากหลาย เหมาะกับการเจริญเติบโตของพรรณพืชและการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิดในปริมาณที่มากกว่าที่พบในพื้นที่ป่าทั่วไปอื่นๆ ของทั้งประเทศ จนได้รับการขึ้นทะเบียนจาก UNESCO ให้เป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” โดยเขตรักษาพันธุ์ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก มีความโดดเด่น คุณค่าและความสำคัญ ดังนี้

1) ตั้งอยู่ในตำแหน่งทางชีวภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี เป็นบริเวณซ้อนทับของเขตย่อยทางชีวภูมิศาสตร์ถึง 4 เขตย่อย ได้แก่ เขตซุนเดอิค (Sundaic) เขตอินโด-เบอร์มิส (Indo-Burmese) เขตอินโด-ไชนีส (Indo-Chinese) และเขตไซโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) ส่งผลให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เป็นแหล่งรวมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่มีถิ่นการกระจายจากหลายเขตย่อยมารวมกัน เช่น สมเสร็จ ค่างดำ (ซึ่งมีถิ่นอาศัยในเขตซุนดา) นกเงือกคอแดง ลิงอ้ายเงี้ยะ (ที่มีถิ่นอาศัยในเขตไซโน-หิมาลายัน) กระทิง นกยูง (ที่มีถิ่นอาศัยในเขตอินโดไชนีส) เป็นต้น

แผนที่ Zoogeographical region ทั้ง 4 เขตย่อย

นอกจากนี้ ยังเป็นจุดรวมพรรณพืช ถึง 3 เขตพฤกษภูมิศาสตร์ ได้แก่ 

  • พรรณพฤกษชาติอินโด-เบอร์มีส (Indo-Burmese subregion) กระจายพันธุ์จากทิศเหนือมาใต้ 
  • อินโด-ไชนีส (Indo-Chinese subregion) กระจายพันธุ์จากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก
  • พรรณพฤกษชาติมาลีเซียหรืออินโด-มาลายัน (Malesian or Indo-Malayan subregion) กระจายพันธุ์จากทิศใต้สู่ทิศเหนือ

2) มีทรัพยากรสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์

จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่พิเศษข้างต้น ผสมผสานกับการมีถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสัตว์ป่าหลากชนิด มีทั้งแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ที่หลบซ่อนป้องกันภัยแก่สัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์ ทำให้มีสัตว์ป่าที่มากทั้งชนิดและจำนวน โดยเฉพาะสัตว์ป่าสงวนที่หายากในพื้นที่ป่าอื่นๆ ของประเทศในปัจจุบัน 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal) รวม 69 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิดได้แก่ เลียงผา เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน และสมเสร็จ และมีสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น เสือโคร่ง เสือดาว เสือลายเมฆ ช้างป่า และกวางป่า เป็นต้น

สัตว์ปีก (Bird) พบรวมไม่น้อยกว่า 289 ชนิด เช่น เป็ดก่า นกอ้ายงั่ว ไก่ฟ้าหลังเทา นกกก นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกคอแดง เป็นต้น

สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) พบไม่น้อยกว่า 48 ชนิด มีสัตว์หายาก เช่น ตะพาบม่านลาย เต่าเดือย เต่าหก เป็นต้น

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibian) พบมากกว่า 15 ชนิด เช่น อึ่งกรายลายเลอะ คากคกแคระ กบหนอง กบทูด เป็นต้น

ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) พบมากกว่า 80 ชนิด เช่น ปลาหมูข้างลาย ปลาตูหนา ปลาหลดแม่กลอง ปลาเลียหินหางแดง เป็นต้น 

3) ทรัพยากรป่าไม้มีความหลากหลาย

ลักษณะป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ประกอบไปด้วยป่าหลากหลายแบบ เช่น ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)  ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest)  ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) และป่าทุ่งหญ้า (Grassland) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทุ่งใหญ่ เพราะบางพื้นที่มีเนื้อที่กว้างถึง 10 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพืชที่เกิดในป่าลักษณะนี้ เป็นต้นไม้ที่กระจายอยู่ห่างๆ ไม้พื้นล่างเป็นพวกหญ้า และไม้ตระกูลปาล์ม คือ ปรงและเป้ง เป็นต้น

4) เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารสำคัญ 4 สายหลัก คือ แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำกษัตริย์ใหญ่ และแม่น้ำสุริยะ

มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์

รับรู้ เรียนรู้ เพื่อโลก : “สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เพื่อความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกัน”  (อยู่รอด อยู่รวม อยู่ร่วม)

ปรัชญาความเชื่อ
ทุกสิ่งเป็นชีวิตเดียวกัน ย่อมมีส่วนได้ส่วนร่วมกัน
ปณิธาน
ถ้าเราทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติได้มากขึ้นแม้อีกเพียงนิดเดียว ก็เป็นงานที่มีค่าและควรทำอย่างยิ่ง
พันธกิจ
อำนวยความสะดวกในการฟื้นคืนมาของป่าไม้ธรรมชาติโดยการสนับสนุนให้คนได้รับความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการได้และเอื้อประโยชน์ของป่าไม้
วิสัยทัศน์
คน ต้นไม้ ป่าไม้ อยู่ร่วมกัน เกื้อกูลกัน อย่างยั่งยืน (Symbiosis)

มูลนิธิฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของการสร้าง ความรู้ หรือ สิ่งที่พึงทำให้เกิดในบุคคล ไว้ด้วยกัน 5 ระดับ

  1. ทำความรู้จักกันและกัน รู้ ฐานะ ของกันและกัน (คนกับธรรมชาติ)
  2. มี และ เห็น ประโยชน์ ของกันและกัน (คนกับธรรมชาติ)
  3. รู้ พอเหมาะ พอดี ในการพึ่งพาอาศัยกัน – รู้ใช้ (คนกับธรรมชาติ)
  4. รู้ บำรุงรักษา (คนกับธรรมชาติ)
  5. สามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นต่อไป (คนกับคน)

ธรรมชาติ หรือ กฎของธรรมชาติ เป็นสาระหลักและสาระเดียวที่มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสเข้าไปรับรู้โดยเน้นที่การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์เป็นพื้นฐานสำคัญ คือ การ “ฝึก” ให้ “ประตูรับรู้โลก” (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ของตนเกิดประสิทธิภาพ  ปลูกฝัง ความละเอียด ละเมียด โดยผ่าน “ความตั้งใจ” หรือ กิจกรรม เพื่อขยายความสิ่งที่เรียนรู้นั้นให้ชัดขึ้น หรือเรียกรวมๆ ว่า “ประสบการณ์ตรง”

เหตุเพราะ ประสบการณ์ตรงจะกำหนดค่าและความหมายในตนเอง ที่นำไปสู่ การคิด พูด และกระทำ ต่อโลกได้

ในกระบวนการเรียนรู้ หรือ “ฝึก” ดังกล่าว จะประกอบไปด้วยการสร้างความรู้ 2 ชุด คือ

รู้จัก – เข้าใจ (กายภาพ) – ศาสตร์

รู้สึก – พอใจ (สุนทรียภาพ) – ศิลป์

2 รู้ นี้ บางครั้ง เราเรียกกันเองง่ายๆ ว่า รู้สึกรู้สา (สาเหตุ) คือ 2 รู้ พื้นฐาน ในการเริ่มต้นเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกๆ อย่าง ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา การเรียนรู้ไม่เคยหยุดอยู่กับที่และมีมากมายหลายอย่างที่มนุษย์ผู้มีศักยภาพจะสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้

กระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติดังกล่าวนี้ มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ได้ทำงานออกแบบและดำเนินการต่อเนื่องกับเด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไปมากว่า 20 ปี เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “การศึกษาธรรมชาติโดยศิลปวิธี” (Nature Study Through Aesthetic Consciousness) โดยมีคำสำคัญ 3 คำ เป็นหัวใจของกระบวนการ คือ

สนุก สัมผัสจริง และเกิดจินตนาการ 

สนุก หรือ สุข เพื่อสร้าง “ความใฝ่” (ฉันทะ)

สัมผัสจริง คือ “การฝึกฝน” 

เกิดจินตนาการ คือ ผลลัพธ์ที่มาจากการสร้างสรรค์ผลงานจากการเรียนรู้ของตนเอง อย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบใดๆ ก็ตาม เช่น งานศิลปะ ประดิษฐ์ เป็นต้น 

ท้ายที่สุดของกระบวนการ “ศึกษาธรรมชาติโดยศิลปวิธี” มีเป้าหมายที่จะเห็นเด็กและเยาวชนไทย ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวนี้ สามารถ “เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ” ซึ่งจะพาให้พวกเขาเข้าถึง “ความสุข” และเกิด “ปัญญา” ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นเป้าหมายสำคัญของชีวิตมนุษย์ โดยเราดูตัวชี้วัดได้จาก ความศรัทธาตนเองในการทำประโยชน์ (Self Esteem), ความตื่นตัว-อยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เป็นประโยชน์ (Sense of Wonder) และสุดท้ายคือ การตั้งเป้าหมาย(ท้ังระยะสั้นและยาว) และลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นได้ด้วยตนเอง (Self Achievement)

รูปแบบการทำงานร่วมกัน